รวมเทคนิคเด็ดกำจัดหอยเชอรี่

น้ำหมักชีวภาพ

รวมวิธีกำจัด หอยเชอรี่
หอยเชอร์รี่กัดกินต้นข้าว นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกรอย่างมากครับ เมื่อก่อนผมปลูกข้าวไว้สองไร่ ช่วงแรกไม่ได้ศึกษาวิธีป้องกันกำจัดหอยเชอร์รี่ ก็เลยโดนเต็มๆครับ 1 ตะกร้า ผลผลิตสูญหายไปกว่าครึ่ง แต่ตอนนี้หามากินแทบไม่มีครับ เมื่อมีเทคนิคดีๆ ก็ต้องขอแจกจ่ายเป็นวิทยาทานกันบ้างล่ะครับ
สูตรกำจัดหอยเชอรี่ ด้วยยางมะละกอ-กากชา

สูตรกำจัดหอยเชอรี่ ด้วยยางมะละกอ-กากชา

1. หาใบมะละกอพร้อมก้าน นำไปใส่ในแปลงนาบริเวณที่มีนาข้าวอยู่หรือทางน้ำไหล ถ้าบริเวณกว้างก็ใส่หลายใบหน่อย พื้นที่น้อยก็ใส่ 3 - 4 ใบ หอยจะเข้ามารุมกินใบมะละกอ เราก็นำใบมะละกอมาเคาะ และกำจัดโดยการใส่ถังแล้ว นำจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ กากน้ำตาล ใส่ลงไป หมักไว้ฉีดพ่นในแปลงนาเสียเลย ถือว่าแก้วิกฤตให้เป็นโอกาส (สูตรนี้แหละครับที่ผมใช้)
2. ใช้กากชา ที่หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรทั่วไป กระสอบละประมาณ 130 บาท นำมาใส่ในแปลงนา ขณะที่ทำเทือก 1 กระสอบ จะควบคุมพื้นที่ได้ประมาณ 4 ไร่ หอยก็จะตายเรียบ

 
อีกวิธีกำจัดหอยเชอรี่ด้วยปูนขาว

ให้ใช้ปูนขาว 5 กิโลกรัม ละลายน้ำ 100 ลิตร คนให้เข้ากันทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำปูนใส 2 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร สาดให้ทั่วแปลงนาที่มีน้ำลึกประมาณ 10 เซนติเมตร เพียงเท่านี้หอยเชอร์รี่ก็จะตาย หรือหนีไปทันไป เหตุผลก็คือ ความเป็นด่างของปูนขาวจะทำให้หอยเชอรี่ตายหรือหนีไป แถมยังช่วยลดความเป็นกรดของดินได้ดี หรือถ้าแปลงนาเป็นแอ่งน้ำขัง เวลาหว่านข้าวเปลือก หอยเชอรี่จะมารวมอยู่บริเวณที่มีน้ำ ถ้านำกิ่งสะเดา มาวางให้ใบเน่าอยู่ในแอ่งน้ำ หรือใช้มะละกอสุกบดแช่ในน้ำหมักชีวภาพ 2-6 ชั่วโมงนำไปหว่านในนาช่วงทำเทือก ระดับน้ำประมาณ 10 เซนติเมตร หอยเชอรี่จะหนีไปหมด


กำจัดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ ด้วยน้ำหมักชีวภาพ

EM น้ำหมักชีวภาพ
กำจัดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ และบ่อปลา ด้วยน้ำหมักชีวภาพ

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย หมู เป็ด ไก ต่างๆ ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งก็คือกลิ่นที่เหม็น ไม่พึงประสงค์นั่นเองครับ  ในการเลี้ยงสัตว์ มูลสัตว์นับเป็นปัญหาสำคัญต่อสภาพแวดล้อมในฟาร์มและบริเวณใกล้เคียงมาก โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงสุกร ถ้าไม่มีการจัดการให้ดีแล้ว นับวันกลิ่นเหม็นยิ่งเพิ่มทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ ครับ ปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ จะค่อยๆ จางหายไป และหมดไปครับ หากเราทำการจำกัดกลิ่นเหม็น โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ มาดูวิธีกันเลยครับ

1. ให้ผสมน้ำหมักชีวภาพ กับน้ำเปล่า(ไม่มีคลอรีน) ในอัตรา 1 : 1,000 ให้สัตว์กินทุกวันจะช่วยลดกลิ่นเหม็นได้
2. คอกสัตว์ โดยเฉพาะสุกรและโคนม ที่ได้รับการฉีดล้างด้วยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราเข้มข้น 1 : 100 - 300 เป็นประจำ กลิ่นจะไม่เหม็น และน้ำที่ได้จากการล้างคอก ก็สามารถนำไปรดน้ำต้นไม้ รดผัก เป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพต่อไป และสามารถปล่อยลงแม่น้ำลำคลองได้ โดยไม่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
3. บริเวณคอกสัตว์ ที่ได้รับการฉีดพ่นด้วยน้ำหมักชีวภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงวันจนเกือบไม่มีเลย แม้แต่ยุงก็จะลดน้อยลงด้วย ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นตามแหล่งน้ำในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ
4. บ่อปลา บ่อกุ้ง หากเราใส่น้ำหมักชีวภาพ ในบ่อปลา บ่อกุ้ง และบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ ในอัตรา 1 : 1,000 - 1 : 10,000 หรือ 1 ลิตร ต่อน้ำในบ่อ 1 - 10 ลูกบาศก์เมตรอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้างและมูลสัตว์น้ำที่ก้นบ่อให้หมดไป ทำให้น้ำไม่เสีย ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ สัตว์น้ำมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ผิวสะอาดไม่มีกลิ่นโคลนตมด้วยครับ

สูตรน้ำหมักชีวภาพก็แล้วแต่จะเลือกใช้ครับ แต่ที่ผมทำอยู่ผมใช้น้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์หน่อกล้วย) ที่หมักกับสารเร่ง พด.6 ของกรมพัฒนาที่ดินได้ผล 100% ครับ

การใช้น้ำหมักชีวภาพอย่างถูกต้อง

น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM
การใช้น้ำหมักชีวภาพอย่างถูกต้อง  

น้ำหมักชีวภาพ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หรือ EM ก็คือการรวมเอาจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ให้มาอยู่รวมกันในที่ ๆ เดียว เพื่อที่เราจะได้นำไปใช้ประโยชน์ ในทางชีวภาพ จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์นี้ จะไปย่อยสลายอินทรียวัตถุที่อยู่ในดิน ให้กลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เพื่อให้พืชสามารถดูดซึม และใช้เป็นอาหาร บำรุงลำต้น บำรุงดอกผลได้

น้ำหมักชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศษพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 3  (กากน้ำตาล 1 ส่วน พืชผัก 3 ส่วน) หมักรวมกันในถังปิดฝา หมักทิ้งไว้ในที่ร่ม ไม่ให้โดนแสงแดด ประมาณ 3-7 วัน เราจะได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช

2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น

การใช้น้ำหมักชีวภาพ กับพืชไร่ พืชผัก
1. เมื่อเตรียมแปลงสำหรับปลูกเสร็จแล้ว ให้หว่านปุ๋ยหมักชีวภาพ ประมาณ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2. เอาฟางคลุมแล้วรดด้วยน้ำหมักชีวภาพ (น้ำหมักแม่หรือน้ำหมักพ่อ) ในอัตราส่วน 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร รดแปลงให้ชุ่มทิ้งไว้ 7 วัน แล้วจึงปลูกพืช
3. หลังปลูกพืชแล้วประมาณ 1012 วัน ถ้าพืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรให้เติมปุ๋ยหมักชีวภาพอีก
4. ควรรดน้ำหมักชีวภาพ ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตของพืช สัปดาห์ละ 12 ครั้ง ในอัตราส่วนน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร

การใช้น้ำหมักชีวภาพ กับไม้ผล ไม้ยืนต้น
1. ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 - 2 ก.ก. ผสมกับดินเดิม คลุมด้วยฟาง รด ราด ด้วยน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงปลูกต้นไม้ได้
ไม้ผล ไม้ยืนต้นที่ปลูกแล้ว
2. หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตและตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ก.ก. ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร บริเวณรอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง ปีละ 2 ครั้ง
3. ราด รด ด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพื่อกระตุ้นการแตกยอดและใบใหม่ในอัตราน้ำหมักชีวภาพ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร เดือนละ 2 ครั้ง ตามช่วงอายุการเจริญเติบโตของพืช
4. เมื่อพืชติดดอก ติดผล ควรเพิ่มการให้น้ำหมักชีวภาพ สูตร 2 , 3 เป็นเดือนละ 1 ครั้ง
หมายเหตุ น้ำหมักชีวภาพควรใช้ในเวลาเช้าหรือเย็น ไม่ควรให้ถูกแสงแดดจัด เก็บไว้ในร่มและไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีทุกชนิด

การใช้ในการเลี้ยงสัตว์
น้ำหมักชีวภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอาหาร เมื่อสัตว์ได้รับน้ำหมักชีวภาพ โดยใส่ให้สัตว์กินในอัตราน้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน (1 : 1,000) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่สัตว์กิน ทำให้สัตว์ได้รับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
สัตว์ปีก, สุกร สัตว์ปีกและสุกรเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว ไม่สามารถย่อยหญ้าได้ดีเท่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย แต่น้ำหมักชีวภาพจะช่วยให้สัตว์ปีกและสุกร สามารถย่อยหญ้าสดหรือพืชได้ดีขึ้น เป็นการประหยัดอาหารได้ถึง 30 %  

สำหรับสัตว์ เคี้ยวเอื้อง 
สัตว์เคี้ยวเอื้องจำพวก วัว ควาย ปกติสามารถย่อยอาหารหลักจำพวกหญ้าสด หญ้าแห้งได้ดีอยู่แล้ว เมื่อได้รับน้ำหมักชีวภาพ โดยใส่ในน้ำให้กินในอัตรา 1 : 1,000 หรือพรมลงบนหญ้าก่อนให้สัตว์กิน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้สูงขึ้น

กำจัดวัชพืชด้วย น้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM

กำจัดวัชพืชด้วย น้ำหมักชีวภาพ
วัชพืช หรือพืชที่เราไม่ได้ปลูกเอาไว้ จัดว่าเป็นศรัตรูตัวสำคัญของเกษตรกรก็ว่าได้ครับ บ้างก็มีวิธีจัดการกับวัชพืชที่แตกต่างกันออกไป ในแนวทางของแต่ละคน แต่ในบทความนี้ ผมจะไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีนะครับ เพราะจะเน้นไปในแนวทางชีวภาพ เพื่อความปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม และตัวเราเองด้วยครับ ผมจะแนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพ หรือ EM ที่เรารู้จักกันดี กล่าวคือ 

น้ำหมักชีวภาพ ที่เราใช้เวลาหมักประมาณ 7-10 วัน สามารถกำจัดวัชพืชได้ เนื่องจากในช่วงเวลานี้ ปุ๋ยน้ำหมักจะมีสถานะเป็นกรดสูง ในช่วงเราทำการหมักอยู่นั้น ก็ให้เลือกพื้นที่ ที่ต้องการได้เลยครับ ว่าจะใช้กำจัดวัชพืชตรงใหนดี และเมื่อได้พื้นที่ ที่ต้องการแล้ว ให้ทำการตัดหญ้า โดยตัดให้สั้นติดดินเท่าไหร่ยิ่งดีครับ พอเวลาผ่านไปสัก 3 วัน หญ้า หรือวัชพืชก็จะเริ่มแตกยอดใหม่เป็นใบอ่อน อย่ารีบร้อนครับ รอให้หญ้าแตกยอดอ่อนทั่วทั้งพื้นที่ก่อน  หลังจากนั้นให้ทำการรด (ไม่ต้องฉีดพ่น) โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 200 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (ปกติเราใช้ 5-15 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร) รดให้เปียกชุ่ม ทั่วพื้นที่ ที่กำหนด จากนั้นให้เอาผ้าใบหรือวัสดุทึบแสง หรืออาจเป็นผืนพลาสติก มาคลุมทับไว้ ประมาณ 10-15 วัน พอเปิดดู จะเห็นว่าหญ้าส่วนใหญ่จะตาย แต่อาจจะไม่ทั้งหมด ก็ให้ทำซ้ำ จากนั้นเราก็ทำการไถกลบเพื่อเป็นปุ๋ยหมักต่อไป หรือจะปล่อยให้เน่า เปื่อยไปเองตามธรรมชาติก็ได้ครับ

การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีนี้ เป็นอีกแนวทางเลือกหนึ่เหตุที่หญ้า หรือวัชพืชตาย   เนื่องจากปุ๋ยน้ำที่ใช้มีความเป็นกรดสูง เมื่อใบพืชถูกสัมผัส จะทำให้ระบบการสังเคราะห์แสง และการเจริญเติบโตของพืชชะงักลง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเองด้วย ว่าจะเลือกใช้แบบใด อยากรวดเร็วทันใจก็ใช้สารเคมี แต่อายุก็สั้นไวด้วยนะครับ แต่ถ้าอยากปลอดภัย ก็อาศัยวิธีที่ผมแนะนำนะครับ