น้ำหมักชีวภาพยับยั้งเชื้อรา
น้ำหมักชีวภาพ
จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร
กรมวิชาการเกษตร โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ 115
ชนิดเพื่อยับยั้งการพัฒนาและการเจริญเติบโต ของเชื้อรา Phytophthora palmivora
: ซึ่งเป็นสาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ของทุเรียน ลองกอง ส้ม
ลำไย มะละกอ
และโรคใบร่วงของยางพารา พบว่า น้ำหมักชีวภาพ
ที่ยับยั้งเชื้อราชนิดนี้ได้ 100 % ในห้องปฎิบัติการ มี 3 ชนิดคือ
1.น้ำหมักที่ได้จาก
กล้วยน้ำหว้าสุก และ กากน้ำตาล อัตราส่วน
3 : 1 ใช้น้ำหมัก
600
ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
2. น้ำหมักที่ได้จากการหมัก
ข่าแก่,ตะไคร้หอม,สะเดา,ใบยูคาลิบตัสแก่,ใบและผลมะกรูด,เปลือกสับปะรด,ผลมะเฟือง,ผลลูกยอแก่ โดยผสมวัสดุที่กล่าวข้างต้น 3 ส่วน กับ กากน้ำตาล
1 ส่วน เวลาหมัก
เมื่อใช้น้ำหมักดังกล่าว 300 ซีซี ผสมกับน้ำ
20 ลิตร
3. น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมัก
ผักบุ้งกับหญ้าข้าวนก โดยผสมผักบุ้งกับหญ้าข้าวนก 3 ส่วน หมักกับ กากน้ำตาล 1 ส่วน
เมื่อใช้น้ำหมักดังกล่าว 2000 ซีซี ผสมกับน้ำ
20 ลิตร
จากผลการทดสอบในห้องปฎิบัติการของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ 115 ชนิด
เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Collectotrichum
gloeosporioides ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส
( โรคกุ้งแห้ง) ของพริก ไม้ผล
มะม่วง ทุเรียน ฝรั่ง มะละกอ
หอมหัวใหญ่ กล้วยไม้ ผัก ไม้ดอกไม้ประดับ หลายชนิด พบว่าน้ำหมักชีวภาพที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุของโรคนี้ได้ 100 % คือ
1. ถั่วแขก 3 ส่วน หมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน
โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 300 ซีซี ผสมกับน้ำ
20 ลิตร
2. กล้วยน้ำหว้าสุก 3 ส่วนหมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 600 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
3. ลูกตาเสือ 3 กก
+ หางไหล 5 กก +
หนอนตายอยาก 5 กก + กากน้ำตาล 1.5 กก โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 30 ซีซี
ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
4. ข่าแก่ +
ตะไคร้หอม + สะเดา + ใบยูคาลิบตัสแก่ + ใบและผลมะกรูด + เปลือกสับปะรด +
ผลมะเฟือง + ผลลูกยอแก่ รวมๆกัน 3 ส่วน หมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน
โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 200 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
5. ผักบุ้งและหญ้าข้าวนก
3
ส่วนหมักกับ กากน้ำตาล 1 ส่วน
โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 2000 ซีซี ผสมกับน้ำ 20 ลิตร
6. ตะไครัหอม + หัวข่า + สาบเสือ รวมๆกัน
3 ส่วน หมักกับกากน้ำตาล 1 ส่วน โดยใช้น้ำหมักที่ได้ 100 ซีซี ผสมกับ น้ำ 20 ลิตร
ข้อมูลจาก เกษตรพอเพียง.com